เมนู

ทุกขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
นั้นแลดับไป อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็น
ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่า
อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข-
เวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข-
เวทนานั้นแลดับไป.
[390] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันเสียดสีกัน เพราะ
การเสียดสีกันจึงเกิดไออุ่น จึงเกิดไฟ เพราะแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละ
ออกจากกัน ไออุ่นที่เกิดเพราะการเสียดสีนั้นย่อมดับไป สงบไป ฉันใด
ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เกิดแต่ผัสสะ
มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาอันเกิดแต่ผัสสะ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้น ย่อมดับเพราะผัสสะที่เกิดแต่
ปัจจัยนั้นดับไป.
จบ ผัสสมูลกสูตรที่ 10

อรรถกถาผัสสมูลกสูตรที่ 10



พึงทราบวินิจฉัยในผัสสมูลกสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สุขเวทนียํ ได้แก่ ผัสสะเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา. แม้ใน
บทเหลือก็นัยนี้นั่นแล ส่วนในข้อนี้ การพรรณนาตามลำดับบท ท่านให้

พิสดารไว้แล้วในหนหลัง. ในสองสูตรนี้ ตรัสถึงเวทนาอันเที่ยวไปในการ
พิจารณา
จบ อรรถกถาผัสสมูลกสูตรที่ 10
จบ ปฐทกสคถวรรคที่ 1


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สมาธิสูตร 2. สุขสูตร 3. ปหานสูตร 4. ปาตาลสูตร
5. ทัฏฐัพพสูตร 6. สัลลัตสูตร 7. ปฐมเคลัญญสูตร 8. ทุติย-
เคลัญญสูตร 9. อนิจจสูตร 10. ผัสสมูลกสูตร.